คิดบวก
คิดบวกพลังชีวิตเปลี่ยนคนธรรมดา
การตั้งเป้าหมาย ส่งทุกความคิดเหห็นได้ที่ ติดต่อ ทัต ณ ฝั่งโขง บนเฟชบุค
 
 
 วิธีคิดเมื่อต้องเป็นผู้แพ้
 วิธีคิดเมื่อต้องเป็นผู้แพ้

 ใครๆ ก็อยากเป็นผู้ชนะ และชื่นชมผู้ชนะ แต่มนุษย์ทุกคนย่อมมีโอกาสเป็นผู้แพ้ทั้งนั้น
เช่น แพ้ในเรื่องการทำงาน การบริหาร ชีวิตส่วนตัว ครอบครัว ชีวิตรัก ฯลฯ

ท่านรู้สึกว่าตัวเองเริ่มเข้าใกล้คำว่าผู้แพ้มากขึ้นหรือเปล่า

 ข้อแนะนำเมื่อท่านต้องเป็นผู้แพ้

 1. รับความจริง อาจจะเจ็บปวดบ้างในการจะต้องรับความจริงว่าเราเป็นผู้แพ้
แต่เมื่อทำเต็มที่แล้ว แพ้ก็แพ้ซิ จงรับความจริงให้ได้

รู้ไหมครับว่า ไม่มีใครล้มเหลวหรือแพ้จริงๆ มีล้มเลิกทั้งนั้น แล้วคุณจะเป็นอีกคนหนึ่งที่ล้มเลิกหรือ?

 2. มองโลกในแง่ดี แม้จะล้มเหลวหรือเป็นผู้แพ้แล้วก็ต้องฝึกการมองโลกในแง่ดีให้ได้
คนที่ประสบความสำเร็จอันยิ่งใหญ่มักล้มเหลวมาก่อนทั้งนั้น

แต่เขาจะเป็นนักฝันที่ยิ่งใหญ่ด้วย เราจึงต้องฝันต่อไป มองโลกในแง่ดีต่อไป

 3. มีอารมณ์ขัน อย่าจริงจังกับชีวิตนัก ทุกอย่างมีขึ้นและมีลง มีทุกข์สุขสลับกันไป
ซึ่งเป็นเรื่องของอนิจจัง อนัตตา ซึ่งเป็นหลักความจริงของโลกและชีวิต ต้องยอมรับให้ได้
การจริงจังกับชีวิตมากไปจะทำให้ขาดอารมณ์ขัน กลายเป็นความเครียด

ขงจื้อเคยบอกว่า เกียรติยศอันยิ่งใหญ่ที่สุดไม่ใช่การไม่เคยล้ม แต่อยู่ที่การลุกขึ้นมาสู้ใหม่ทุกครั้งที่ล้มลงต่างหาก
คุณคิดว่าขงจื้อเคยล้มหลายครั้งไหมเล่า?

 4. ปรับตัวเข้าหาความเป็นสากลได้ดี
มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่มีลักษณะพิเศษที่ปรับตัวได้ง่าย ถ้าอยากทำควรจะเป็นผู้ขยัน อดทน
หมั่นหาความรู้ใส่ตัว และกล้าทำในสิ่งใหม่ๆ ได้อีกเสมอ คุณจะมีผลงานใหม่ๆ ออกมาอยู่เสมอๆ
มากกว่าคนอื่นๆ

อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องปรับตัวให้มีให้ได้ก็คือ

การมีคุณธรรม ได้แก่ กตัญญู กตเวที เสียสละ รับผิดชอบ ซื่อสัตย์ รักเพื่อนมนุษย์

คุณธรรมหรือความดีนี้ จะทำให้คนสรรเสริญ และพร้อมจะช่วยเหลือต่อไป

อย่าสูญเสียกำลังใจและความกระตือรือร้น เพราะนั่นเป็นการล้มละลายที่หนักที่สุด

จงตั้งจุดมุ่งหมายเอาไว้ แล้วดำเนินไปตามจุดมุ่งหมายนั้น ทำได้แค่ไหนก็แค่นั้น
บอกกับตัวเองว่าคุณเป็นคนเก่ง...ดีมากแล้ว
ความสุขและกำลังใจจะเกิดขึ้นทุกครั้ง ที่คุณลงมือและคิดอย่างที่ผมบอก

คนจะมีความสุขได้เท่าที่เขาตั้งใจอยากจะมี อย่ายอมแพ้ จงยืนหยัดสู้ต่อไป
ถ้าคนอื่นเขายอมแพ้ก็เป็นเรื่องของเขา
แต่เราต้องไม่ยอมแพ้ เพราะความสำเร็จขึ้นอยู่กับการยืนหยัดสู้ต่อไป ในขณะที่คนอื่นเขายอมแพ้นี่เอง

จงใช้ความล้มเหลวให้เป็นโอกาสที่จะเริ่มต้นใหม่อย่างฉลาดมากขึ้น ทุกครั้ง ทุกวัน

คุณจะจดจำวิธีคิด วิธีลงมือปฏิบัติ เมื่อคุณล้มเหลวพ่านแพ้ชีวิตเหล่านี้ไว้อีกนานแสนนาน
และจะนำมาใช้อีกถ้ามันเกิดขึ้นอีก

สิ่งที่คุณทำนี้เป็นการทำดี ผู้คนจะจำได้ถึงการทำดีของคุณ
มากกว่าจะจดจำการประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงไรหรือไม่ของคุณ

เมื่อเริ่มต้นคิดและทำใหม่ให้ถูกต้องได้แล้ว

ผู้แพ้ก็จะกลายเป็นผู้ชนะในโอกาสต่อไปในที่สุด
ฝันให้ไกล...ไปให้ถึง...ได้แค่ไหนก็แค่นั้น...เก่งมากแล้ว...เชื่อผมเถอะ

http://www.pattanakit.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=538708641&Ntype=128

 
 
ทำอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ

การที่เราจะทำการใดให้ประสบความสำเร็จได้นั้น อาจจะต้องมีแรงจูงใจมาผลักดัน

แรงจูงใจ แบ่งเป็น 2 ประเภท

คือ แรงจูงใจจากภายนอกและแรงจูงใจจากภายใน แรงจูงใจจากภายนอกมีอิทธิพลต่อทรรศนะของพวกเราที่มีต่อการงาน และการเสียสละต่าง ๆ และเป็นตัวคอยกระตุ้นให้คุณพยายามเอาชนะสิ่งต่าง ๆ ในขณะที่แรงจูงใจจากภายในเป็นตัวกระตุ้นให้พวกเราสนุกสนานไปกับการงานและ สนุกกับชีวิตของเราเอง

ถ้าคุณเป็นคนที่มี แรงจูงใจจากภายนอกเป็นตัวกระตุ้นซะเป็นส่วนใหญ่ คุณเป็นคนมีความทะเยอทะยานเหลือเฟือมากเกินพอดีเสียจนไม่ค่อยจะยอมสนุกสนาน ไปกับงาน หรือคุณภาพของงานที่คุณทำ สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับคุณมีเพียงว่า คนอื่นเขาจะประเมินความสำเร็จของคุณอย่างไร คุณเป็นคนที่ใช้เวลากับการทำงานมาก แต่ไม่ค่อยจะมีสมาธิในการทำงานสักเท่าไร เพราะคุณมีอันใช้เวลาเที่ยววิเคราะห์เรื่องราวความเป็นไปภายในที่ทำงานซะ เป็นส่วนใหญ่ และก็มีคนอีกประเภทหนึ่งซึ่งมีแรงจูงใจจากภายในสูง หากคุณเป็นคนประเภทนี้ คุณจะรักงานของคุณ และไม่ค่อยแคร์ว่าคนอื่นเขาจะสนใจว่าคุณประสบความสำเร็จหรือไม่ ตัวคุณเองนั่นแหละที่เป็นคนประทับใจในผลงานของคุณ คุณไม่สนใจคำสรรเสริญเยินยอ แถมไม่สนใจจะแข่งขัน คุณไม่วางกลยุทธ์ระยะยาว แต่คุณจะพยายามต่อสู้เพื่อแสวงหาความท้าทายและความสนใจส่วนตัว ไม่ใส่ใจในเวลาที่คุณเสียสละใช้เพื่อนการงาน เพราะคุณสนุกสนานไปซะหมดกับสิ่งที่คุณทำอยู่

การแข่งขัน 3 รูปแบบ

- การ แข่งขันเชิงรุก จุดประสงค์หลักที่ทำให้คนเรารุกบุกหน้า ก็เพื่อให้ตนเองก้าวล้ำนำหน้าคนอื่น ๆ แต่ความรู้สึกนี้จะจางหายไปได้ค่อนข้างจะเร็ว ใครก็ตามที่ตั้งใจแน่วแน่จะเอาชนะผู้ร่วมงานคนอื่นมักจะประสบความสำเร็จด้อย กว่า ความสำเร็จที่ว่านี้เขาวัดกันที่ตำแหน่งหน้าที่การงานเงินเดือน และการได้เลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง การต่อสู้แข่งขันเป็นตัวบ่งบอกลักษณะของคุณได้ ว่ากันว่าคนที่รักการแข่งขันเชิงรุก เป็นคนลึกลับ ไม่ไว้ใจคนอื่น ยักย้ายถ่ายเท และคอยคิดแต่จะเอาชนะมากกว่าที่จะตั้งใจทำงานของตัวเอง หรือร่วมงานกับคนอื่น แต่มันก็มีผลเสียตรงที่ความอยากจะเอาชนะกลับกลายเป็นตัวบั่นทอนความสัมพันธ์ ระหว่างคุณกับคนอื่น

- การแข่งขันเชิงรับ จะเป็นรูปแบบการป้องกันตัวเองมากกว่าเที่ยวไปรุกรานชาวบ้านเขา รูปแบบนี้จะเป็นตัวจูงใจให้คุณประพฤติตัวเพื่อหวังผลเลิศ ซึ่งจะเป็นเกราะป้องกันตัวคุณจากการถูกคนอื่นมาโจมตี แถมยังทำให้คุณคอยจับตามอง และเฝ้าระวังคู่ต่อสู้ ตลอดจนเรียนรู้ว่าคู่ต่อสู้ของคุณนั้นเขาทำอะไรกันอยู่บ้าง ทำให้คุณมีสายตาที่กว้างไกล แต่ถ้าจะมองกันในทางลบแล้ว การแข่งขันเชิงรับอาจเปลี่ยนเป็นความอิจฉาริษยา เมื่อใดก็ตามที่สภาพการงานของคุณคลอนแคลน หรือโดนคนอื่นก้าวล้ำหน้าไป กรณีนี้เกิดขึ้นได้กับคนที่อยากจะเอาแต่ชนะท่าเดียว

- การ แข่งขันต่อสู้จากภายใน การแข่งขันนี้เป็นแรงจากภายในตัวคุณที่คอยผลักให้คุณดำเนินการใด ๆ ไปได้ แต่ความสนใจที่คุณมีต่อสิ่งใด ๆ นี้จะหมดไปในเวลาไม่นานนัก แรงจูงใจจากการแข่งขันนี้ทำให้คุณทำงานยากเย็นใด ๆ สำเร็จลุล่วงไปได้ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับทัศนคติของคุณที่มีต่อการงานชิ้นนั้นด้วย

สิ่ง สำคัญที่สุด คือ ควรเปิดใจกว้างยอมรับความคิดเห็นต่าง ๆ ที่เกิดจากการทำงานร่วมกัน ขณะคุณโดนแรงแข่งขันพาคุณลิ่วสู้การงาน คุณอาจไม่ยอมรับคำแนะนำต่าง ๆ ของคนอื่น หรืออีกทีคุณอาจไม่ยอมรับความร่วมมือใด ๆ จะทำให้คุณได้ข่าวสารข้อมูลและความคิดเห็นจากคนอื่นเขา ซึ่งจะช่วยเสริมให้คุณบรรลุเป้าหมายของคุณเองได้ รวมทั้งของคนอื่นด้วยยังไงล่ะ

 
 
 
 คุณธรรม 8 ประการ

    ขงจื้อ เป็นนักปรัชญาเมธีที่มีชื่อเสียงที่สุดของจีน เกิดเมื่อ 551 ปีก่อนคริสตกาล ในแคว้นหลู่ มณฑลชานตุง ขงจื้อกำพร้าบิดามาตั้งแต่วัยเยาว์ และมีชีวิตอยู่ด้วยความยากจน แต่ด้วยความที่เป็นผู้ที่มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด จึงได้พยายามศึกษาหาความรู้ในวิชาประวัติศาสตร์ ปรัชญา และการดนตรีจนได้ชื่อว่าเป็นนักปราชญ์ จากนั้นได้ทำหน้าที่อบรมสั่งสอนจรรยามารยาท และการปกครองให้แก่กุลบุตรในตระกูลผู้ดี เคยเข้ารับราชการเป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมของแค้วนฉี 

ภายหลังได้ลาออกจากตำแหน่งแล้วท่อง เที่ยวไปตามแคว้นต่าง ๆ เพื่อให้คำปรึกษาและข้อคิดในกิจการเกี่ยวกับการปกครองแก่บรรดาเจ้าผู้ครอง แคว้นและเสนาบดีที่เลื่อมใสศรัทธาในความคงแก่เรียนของเขา ในบั้นปลายของ ชีวิต ขงจื๊อได้กลับสู่แคว้นหลู่บ้านเกิดเมืองนอนของตน สั่งสอนสานุศิษย์จนถึงแก่กรรมเมื่อ 479 ปีก่อนคริสตกาล

    

    ท่านขงจื้อจะสอนให้มนุษย์ทุกคน เป็นคนโดยสมบูรณ์  การเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์นั้นต้องปฏิบัติตาม คุณธรรม 8 ประการ ท่านขงจื้อได้สอนเกี่ยวกับ คุณธรรม 8 ประการ ไว้ดังนี้

 กตัญญู

      1. กตัญญู (กตัญญ อักษรจีนอ่านว่า เซี่ยว ครึ่งบนเป็นตัวชรา ครึ่งล่างเป็นตัวลูก ประกอบกัน)  ความหมายในตัวอักษร แสดงให้เห็นว่า พ่อแม่นั้นแก่เฒ่า ลูกอยู่เบื้องล่าง เหมือนมือเท้าเฝ้ารับใช้

         กตัญญูเป็นคุณธรรมอันดับแรก เป็นต้นกำเนิดของความดีงาม เป็นคุณธรรมสำนึกที่ควรปฏิบัติรักษาเป็นสำคัญ ซึ่งคนจะขาดเสียมิได้ ขาดความกตัญญ เหมือนต้นไม้ไม่มีราก เหมือนน้ำไม่มีต้นน้ำ พ่อแม่เลี้ยงดูลูกจนเติบใหญ่ บุญคุณลึกล้ำกว่ามหาสมุทร คุณธรรมท่านสูงกว่าขุน เขาไท่ซัน ทุกค่ำทุกเช้า ทุกสิ่งทุกอย่าง พ่อแม่ให้ความรักดูแลเอาใจใส่ลูก จนสุดที่จะ บรรยายได้ ไม่ว่าจะลำบากฝ่าฟันอันตรายอย่างไร ก็ไม่เหนื่อยหน่ายท้อถอย ความรักลูกนั้น ไม่เปลี่ยนผันจนวันตาย

         ปราชญ์ท่านกล่าวไว้ว่า

   หมื่นพันตำลึงทองมากมาย ยากจะซื้อชีพกายพ่อแม่
ท่านยังอยู่ไม่เคารพดูแล ท่านนิ่งแน่ร้องไห้ให้ป่วยการ
พระคุณพ่อนั้นเพียงพสุธา คุณมารดาดังมหาสมุทรใหญ่
รักลูกผูกถวิลจนสิ้นใจ จะหมายใครดั่งพ่อแม่แท้ไม่มี

         ความกตัญญูตามปกติที่ทุกคนพึงปฏิบัติในจุดหมายแห่งการอบรมนี้ คือ

          1. ไม่นำความเสื่อมเสียมาสู่พ่อแม่ เรียกว่า อัน หมายถึง ให้ความสงบสุขใจ
2. ช่วยรับภาระความทุกข์กังวลของท่าน เรียกว่า อุ้ย หมายถึง ปลอบใจช่วยให้คลายทุกข์
3. ให้เสื้อผ้าอาหารด้วยกิริยาที่ยินดี เรียกว่า จิ้ง หมายถึง เคารพ
4. พ่อแม่โกรธว่า ไม่ขัดเคืองโกรธตอบ เรียกว่า ซุ่น หมายถึง โอนอ่อนไม่ขัดใจ

        ศาสดาจารย์ขงจื๊อ สอนธรรมะในข้อกตัญญแก่ศิษย์ไว้ว่า ลูกกตัญญู พึงปฏิบัติต่อมารดาบิดา คือ เมื่ออยู่กับท่านให้เคารพ เมื่อเลี้ยงดูท่านให้ได้รับความสุข เมื่อท่านป่วยไข้ให้ห่วงกังวล เมื่อท่านสิ้นไปให้อาลัยโศกเศร้า เมื่อบูชาเซ่นไหว้ให้ยำเกรงเต็มใจ ทั้งห้าประการนี้ดีพร้อม จึงได้ชื่อว่าปฏิบัติ กตัญญู

        ความอีกตอนหนึ่งว่า ร่างกายตลอตจนปลายเท้าและเส้นผม ได้จากมารดาบิดา มิกล้าทำลาย นี่ คือ กตัญญูในเบื้องต้น สำรวมตนบำเพ็ญธรรม สร้างคุณงามไว้ในโลก เกียรติ ปรากฏแก่มารดาบิดา นี่คือ กตัญญูในเบื้องปลาย ฉะนั้น ชายหญิงที่ได้รับธรรมะแล้ว อย่าลืมรากฐานชีวิตที่ได้มา จงกตัญญูต่อพ่อ แม่ จึงจะได้ชื่อว่า เป็นผู้บำเพ็ญธรรม


 พี่น้องปรองดอง 

     2. พี่น้องปรองดอง (อักษรจีน อ่านว่า ที่ จุดแรกเป็นพี่ จุดทีหลังเป็นน้อง โค้งตัวเคารพ ครบมือครบเท้าในร่างเดียวกัน คือพ่อแม่เดียวกัน) สาย เลือดที่สนิทชิดเชื้อที่สุด คือ พี่น้อง เหมือนกิ่งก้านสาขาของต้นไม้ต้นเดียวกัน ให้สำนึกว่าเกิดมาจากแม่เดียวกัน ดื่มนมจากแม่เดียวกัน พี่จึงควรรู้ให้อภัย น้องให้รู้อดทน ไม่ตัดมือตัดเท้า ความเจริญของครอบครัวเกิดได้เพราะพี่น้องปรองดองกัน 
  

 ซื่อสัตย์ จงรักภักดี

     3. ซื่อสัตย์ จงรักภักดี (อักษรจีน อ่านว่า จง คือวางใจไว้ให้ตรง) จะทำการใดๆให้ถูกต้องยุติธรรม ไม่โป้ปดหลอกลวง ไม่ทำสิ่งน่าละอายต่อตนเองและผู้อื่น ถูกต้องตรงต่อฟ้าดิน ตรงต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ตรงต่อบ้านเมือง ตรงต่อสังคม ตรงต่อพ่อแม่ ตรงต่อพี่น้อง บุตร และภรรยา ทุกสิ่งที่ทำไปโดยไม่ผิดต่อมโนธรรม เรียกว่า จง 


ความสัตย์จริง

     4.  ความสัตย์จริง (อักษรจีน อ่านว่า ซิ่น ประกอบด้วยตัวคน และวาจาหมายความว่า คนควรมีวาจาสัตย์) วาจาสัตย์ เป็นบรรทัดฐานแห่งมนุษยธรรมอันล้ำค่า กิจการใดจะรุ่งเรืองล้มเหลวอย่างไร เริ่มต้นได้ที่วาจาสัตย์ ดังคำที่กล่าวว่า กัลยาณชนเอ่ยวาจาใด ต่อให้ม้าฝีเท้าไวก็ไม่อาจตามคืนมากัลยาณชน เมื่อลั่นวาจาว่าจะบำเพ็ญธรรม คำไหนเป็นคำนั้น เชื่อในวิถีธรรม เชื่อในมหันตภัย เชื่อในกฏแห่งกรรม การ ใดที่ได้พูดจานัดหมายกับใคร จะเป็นซื้อขาย หรือการงานก็ตาม หากคำนึงถึงแต่ผลประโยชน์แห่งตนแล้วผิดสัญญาคำสัตย์ หลอกลวงเหลวไหลล้วนถือเป็นขาดความสัตย์จริง ฉะนั้น เมื่อพูดให้คิดถึงการกระทำ เมื่อจะกระทำให้คิดถึงที่พูด ปากกับใจเป็นอัน หนึ่งอันเดียวกัน ซื่อสัตย์ต่อการกระทำตามสัจวาจา 
 

จริยธรรม 

    5. จริยธรรม (อักษรซี อ่านว่า หลี่ หมายถึงการปฏิบัติที่ถูกแบบแผนอันดีงามตามหลักธรรม) คนประเสริฐกว่าสรรพสัตว์ใดๆ หากไม่มีจริยธรรมก็จะไม่ต่างอะไรกับเดรัจฉานและจะไม่ได้รับการยกย่อง จริยธรรม แสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติของตน ด้วยอาการที่อ่อนน้อมถอมตน ท่าทีสุภาพสง่างาม อยู่ในระเบียบแบบแผนอันดีงาม มีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่มีความกรุณาปรานีต่อผู้น้อยทั่วไป เรามีจริยธรรมต่อเขา เขาย่อมตอบสนองต่อเราด้วยจริยธรรม

       ฉะนั้น การบำเพ็ญธรรม จึงให้เห็นความสำคัญของแบบแผนจริยธรรม รักตัวสงวน ตัว รักผู้อื่นเคารพให้เกียรติผู้อื่น เช่นนี้ จึงเป็นผู้มีคุณสมบัติสูงส่ง ไม่ละอายต่อจริยธรรม

  
มโนธรรม 

    6. มโนธรรม (อักษรจีน อ่านว่า อี้ หมายถืงการกระทำที่ถูกต้องตามหลักธรรม ) เป็น คนไม่ควรทำทุจริต ทรัพย์สินเงินทองแม้เป็นของน่ายินดี แต่ควรให้ได้มาอย่าง เป็นธรรม หากแข็งขืนช่วงชิงมา ทำให้ผู้อื่นเสียหายเพื่อตนจะได้ประโยชน์ เช่นนี้ ภายหลัง ย่อมได้รับภัยพิบัติเสียหาย 

       ฉะนั้น กัลยาณชนผู้มีมโนธรรม ไม่เพียงแต่ไม่โลภในทุกขลาภ ยังจะต้องสละทรัพย์ เพื่อมนุษยธรรม ช่วยเหลือผู้คน และงานธรรมต่างๆ เป็นที่ชื่นชมต่อเทพยดา เป็นที่เคารพ ของคนทั้งหลาย ไว้ชื่อเสียงเกียรติคุณแก่ลูกหลาน และบรรพบุรุษคงอยู่ชั่วกาลนาน

 
สุจริตธรรม 

     7.  สุจริตธรรม (อักษรจีน อ่านว่า เหลียน หมายถึงใจซื่อมือสะอาด ไม่โลภ มากอยากได้ ไม่ทุจริตคิดมิชอบ)  ผู้มีสุจริตธรรมจะต้องปฏิบัติตนด้วยความจริงใจ ทำการใดๆให้เสมอต้นเสมอปลาย ไม่ฉวยโอกาสเมื่อใกล้เงิน ไม่หลงไหลเมื่อใกล้อิสตรี มีจิตใจสงบเยือกเย็น ละกิเลสความ อยาก คุณค่าเหล่านี้อยู่ที่ใจกาย มิได้อยู่ที่เสื้อผ้าที่สวมใส่ ใจกายที่มีความบริสุทธิ์ชัดเจน 3 สถาน คือ 

          1.) บริสุทธิ์งานทางโลก งานทางธรรม
2.) บริสุทธิ์ทางการเงิน
3.) บริสุทธิ์สำรวมมารยาทระหว่างหญิงชาย

          และ สี่เที่ยงตรง คือ

          1.) กายเที่ยงตรง
2.) ใจเที่ยงตรง
3.) วาจาเที่ยงตรง
4.) ความประพฤติเที่ยงตรง

          เหล่านี้เป็นเครื่องประดับกายให้ขาวสะอาด จิตใจที่สุจริต แม้ฐานะจะยากจนก็ไม่โลภอยากได้แต่ผลประโยชน์อันไม่ควรได้ เจียมตัวรักษาตน รักษาหน้าที่การงานด้วยความ สุจริต ไม่เปลี่ยนแปลง 

ละอายต่อความชั่ว

     8.  ละอายต่อความชั่ว (อักษรจีน อ่านว่า ฉื่อ หมายถึงเนื้อแท้ของจิตเดิม จิตเดิมของคนเรามีแต่ความดีไม่มีความชั่ว ซึ่งหมายถึงมโนธรรมหรือน้ำใจอันดีงามนั่นเอง)

         ความรู้สึกละอายตอความชั่ว มีอยู่ในใจของทุกคน เมื่อรู้ละอาย จึงรู้การอันควรกระทำที่ถูกต้อง ชัดเจน ตรงกันข้ามหากมิรู้ละอาย ใจกายจะไม่สำรวม สวมใส่เสื้อผ้าไม่สุภาพ เป็นชายก็ ไม่ใช่ เป็นหญิงก็ไม่เชิง ไม่ระวังความสัมพันธ์ระหว่างชายหญิง ก่อให้เกิดข้อครหาน่าอับอายต่างๆ เหล่านี้ล้วนเกิดจากไม่รู้ละอายต่อความ ชั่วทั้งสิ้น

http://www.pattanakit.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=538708641&Ntype=128

 


 
สุทัศน์  ศรีพรม
สุทัศน์ ศรีพรม หรือ ทัต ณ ฝั่งโขง
เจ้าของเว็บไซต์คิดบวก
และเจ้าของเว็บไซต์ บูชาสังฆภัณฑ์

คิดบวก หัวข้อหลัก

Lightning Talk �Ѻ ������ä�

Lightning Talk �Ѻ ������ä�
���������ç�ѹ����
Lightning Talk �Ѻ
������ä� ��ѹ���
�͹ ��´����ͧ��� ���ҧ���ʹ��¸�áԨ
�ѧ��ѳ���͹�Ź� 16 09 58
��������������
��������������
��������������
www.taokaemai.com

 
บทเพลงแห่งชีวิตและสายน้ำ
 
   เว็บไซต์แนะนำ
ร้านจำหน่าย เครื่องสังฆภัณฑ์ออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุด
ศูนย์กลางการบริหารงาน ฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร
ศูนย์กลาง
การบริหารงาน

ฝึกอบรมและ พัฒนาบุคลากร
ให้บริการ outsource
รับทำพิธีตั้งศาลพระภูมิ เจ้าที่
รับทำพิธี ตั้งศาลพระภูมิ เจ้าที่พิธีวางเสาเอก บริการให้คำปรึกษา,
เกี่ยวกับพิธีตั้งศาล, ดูสถานที่
ฮวงจุ้ย ดูฤกษ์ยาม ปรึกษาฟรี

ศิลปะแห่งการสร้างสรรค์
สีทอง ท็อปโค้ตติ้ง แอนด์ บอซ ผลิตภายใต้การควบคุมดูแล การผลิตและจำหน่าย
รับทำผ้าใบ
จำหน่าย และ รับทำผ้าใบ คูล่อน, ซุปเปอร์, บลูชีท(ผ้าฟาง),
ผ้าพลาสติกกันน้ำ